กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม สะอาด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย วันที่ 5...

วันที่ 8 มิถุนายน 2567 คณะเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลห้วยแถลง ร่วมกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม สะอาด กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุง ภายในโรงพยาบาลห้วยแถลง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายเป็นอย่างดี

ขอขอบคุณผู้บริจาค ร้านอมรชัยโฮมมาร์ท

#โรงพยาบาลห้วยแถลง ขอขอบคุณ ร้านอมรชัยโฮมมาร์ท ที่อนุเคราะห์หินคลุกมาเพื่อปรับพื้นที่ในเขตบ้านพักเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลห้วยแถลง จำนวน 30 คิว เป็นจำนวนเงิน 12,000 บาท ขอบคุณมากคะ

ขอขอบคุณผู้บริจาค คุณแม่ทอง ลีลาน้อย พร้อมลูกๆ

#โรงพยาบาลห้วยแถลง ขอขอบคุณ คุณแม่ทอง ลีลาน้อย คุณแม่ท่าน ผอ.สมเกียรติ พึ่งจันดา ผอ.รร.อนุบาลมณีราษฎร์คณาลัย พร้อมลูกๆ บริจาคเงิน จำนวน 5,000 บาท ให้กับโรงพยาบาลห้วยแถลงและมีความประทับใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ทุกคน ขอบคุณมากคะ

โครงการเด็กปฐมวัยสดใส สวมหมวกนิรภัย มีวินัยจราจร ปีงบประมาณ 2567

วันที่ 25 มิถุนายน 2567 กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม (ทีมSAT.) โรงพยาบาลห้วยแถลง นำโดยนางสาวธนภรณ์ สิมศิริวัฒน์ ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ ในนามตัวแทนผู้จัดทำโครงการเด็กปฐมวัยสดใส สวมหมวกนิรภัย มีวินัยจราจร ปีงบประมาณ 2567ร่วมกับคณะผู้บริหารและครู นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 รวมทั้งหมด 270 คน  ได้รับอนุเคราะห์เจ้าหน้าที่จากสถานีตำรวจภูธรห้วยแถลง นำโดย ร.ต.ต.วิชัย เครือวงษ์ รองสารวัตรป้องกันปราบปราม ด.ต.คชน แลไธสง และ ส.ต.ต.ธณพล พุทธรักษา ผู้บังคับหมู่ป้องกันปราบปราม เป็นวิทยากรในการอบรมครั้งนี้ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลห้วยแถลง

ขอขอบคุณผู้บริจาค คุณศักดิ์ ปัจจัยโกและคุณสหชัย ปัจจัยโก

#โรงพยาบาลห้วยแถลง ขอขอบคุณ คุณศักดิ์ ปัจจัยโกและคุณสหชัย ปัจจัยโก บริจาคน้ำดื่ม จำนวน 55 แพ็ค ให้กับโรงพยาบาลห้วยแถลง

โครงการตรวจคัดกรองค้นหาภาวะแทรกซ้อนทางตาผู้ป่วยเบาหวานโดย Fundus camera

โครงการตรวจคัดกรองค้นหาภาวะแทรกซ้อนทางตาผู้ป่วยเบาหวานโดย Fundus camera ( รอบเก็บตก )  วันที่ 29 - 31 พ.ค. 67  สถานที่ตึกอำนวยการโรงพยาบาลห้วยแถลง   ชั้น 1กลุ่มงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  ร่วมกับกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิ  และองค์รวมโรงพยาบาลห้วยแถลง   ได้จัดบริการตรวจคัดกรองค้นหาภาวะแทรกซ้อนทางตาผู้ป่วยเบาหวานโดยเครื่อง Fundus camera   มีผู้ป่วยเบาหวานเข้ารับบริการทั้งหมด 94  คน

ดำเนินการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram (EKG) ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน

วันที่ 12-14 มิถุนายน 2567 แพทย์หญิงวิภา อุทยานินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลห้วยแถลง มอบหมายให้ นายแพทย์กล้าณรงค์ ระติเดช  นางสาววรรณิศา แก้วศรี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการผู้จักการรายกรณีเบาหวาน  คลินิกโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง กลุ่มงานการพยาบาลและกลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน ดำเนินการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram  (EKG) ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ที่ได้รับการคัดกรองพบความผิดปกติ หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว Atrial Fibrillation (AF) จากชุมชน   พบผู้ป่วยที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiogram  (EKG)ผิดปกติ   12  ราย   ส่งต่อโรงพยาบาลมหาราช  จำนวน  2  ราย

ประชุมวิชาการ การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและการวาง...

วันที่ 19-20 มิถุนายน 2567 เวลา 08.00 -16.00 น. นายแพทย์สุปรีชา ขวัญจันทึก แพทย์ที่ปรึกษาดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และเจ้าหน้าที่แต่ละจุดบริการโรงพยาบาลห้วยแถลง ประชุมวิชาการ การดูแลผู้ป่วยไข้เลือดออก ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย ระยะกลาง (IMC) ณ ห้องประชุมชั้น 2 ตึกผู้ป่วยในหญิง

กลุ่มงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลห้วยแถลง จัดบุคลากรออกหน่วยลงพื้นที่

ตั้งเเต่วันที่ 17-28 มิถุนายน 2567 ช่วงเวลา 08.30 - 14.30 น.กลุ่มงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลห้วยแถลง จัดบุคลากรออกหน่วยลงพื้นที่ ณ โรงเรียนบ้านเเสนสุข เพื่อให้บริการตรวจสุขภาพช่องปาก เคลือบหลุมร่องฟันเเท้ เเละเคลือบฟลูออไรด์ ให้เเก่เด็กนักเรียนกลุ่มอายุ 6-12 ปี จำนวน 112 คน เพื่อตอบสนองตัวชี้วัด (KPI) ปีงบประมาณ 2567-2568 โดยใช้ยูนิตทันตกรรมเคลื่อนที่ (mobile unit) ที่ได้รับการสนับสนุนจากโรงพยาบาลห้วยเเถลงเพื่อยกระดับการเข้าถึงบริการทันตกรรมของประชาชนมากยิ่งขึ้น ลดการเดินทางออกนอกโรงเรียน ลดความเสี่ยงของนักเรียน โดยจะมีการวางเเผนเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการทันตกรรมในโรงเรียนอื่นๆ เเละกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ เพิ่มเติมอีกต่อไป

ไข้หูดับ

โรคหูดับ “ โรคติดเชื้อสเตรฟโตคอกคัส ซูอิส (Streptococcus Suis)” โรคหูดับ สามารถเข้าสู่ร่างากยของคนได้ 2 ทาง คือการบริโภคเนื้อสุกร เครื่องในสุกร หรือ เลือด ที่ไม่ผ่านการทำให้สุก เช่น ลาบ ลู่ ปิ้งย่างที่ไม่สุกผ่านทางบาดแผล รอยถลอก เยื่อบุตา จากการสัมผัสโรค หรือ สุกรที่เป็นโรคอาการของผู้ป่วยโรคหูดับผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้ว ภายใน 3 วันจะมีอาการ ดังนี้มีไข้สูงปวดเมื่อยตามตัวปวดศีรษะเวียนศีรษะปวดตามข้อมีจ้ำเลือดตามตัว ตามผิวหนังซึมคอแข็งชักมีการเปลี่ยนแปลงระดับความรู้สึกเมื่อเชื้อเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง และ กระแสเลือดทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบข้ออักเสบม่านตาอักเสบและเนื่องจากเยื่อหุ้มสมองอยู่ใกล้กับประสาทหูชั้นในทั้งสองข้าง เชื้อจึงสามารถลุกลาม จึงทำให้เกิดหนองบริเวณปลายประสาทรับเสียง และ ปลายประสาททรงตัวทำให้หูตึง หูดับจนกระทั่ง หูหนวกเวียนศีรษะ และ เดินเซตามมาได้ซึ่งอาการทั้งหมดนี้ จะเกิดขึ้นภายใน 14 วัน หลังจากเริ่มมีอาการไข้ และ หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และทันท่วงที ผู้ป่วยจะเสียการได้ยิน และ อาจชีวิตในเวลาต่อมาการป้องกัน โรคหูดับไม่รับประทานเนื้อหมูที่ไม่สุกไม่กินหมูป่วย หรือ หมูที่ตายจากโรค และ ควรเลือกบริโภคหมูที่มาจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐานสวมอุปกรณ์ป้องกัน เช่น รองเท้าบู๊ต ถุงมือ เพื่อป้องกันการสัมผัสโรคจากกุกรที่ป่วยล้างมือ ล้างเท้า หรือ อาบน้ำให้สะอาดหลังสัมผัสสุกรเมื่อมีแผลต้องระวังในการสัมผัสสุกรกำจัดเชื้อจากฟาร์ม ตามคำแนะนำของสัตวแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้สุกรป่วย